วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

- วัฒนธรรมประเทศอินโดนีเซีย

ศาสนา
ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือ ศาสนาพุทธ 4
ภาษาประจำชาติ
ภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)
ดอกไม้ประจำชาติ
กล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid)
ชุดประจำชาติ
ผู้หญิง : สวมเสื้อ "คะบาย่า” เสื้อแขนยาว คอแหลมผ่าหน้าอก
เข้ารูปยาวปิดสะโพก
 ปักฉลุลายลูกไม้ เข้ากับผ้าโสร่งที่เป็นผ้าพื้นเมืองที่เรียกว่า "ปาเต๊ะ” 
หรือ "บาติก” โดยมีผ้าคล้องคอยาวและสวมรองเท้าแตะหรือส้นสูงแบบสากล
ผู้ชาย : สวมเสื้อคอปิด สวมหมวกคล้ายหมวกหนีบ นุ่งกางเกงขายาว หรือโสร่งสีและลวดลายเข้ากับหมวก สวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าส้นสูงหุ้มส้น หากเข้าพิธีสำคัญจะเหน็บกริชด้วย ซึ่งวิธีแต่งกายจะแตกต่างกันไปตามละเกาะ
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
       มีชนพื้นเมืองหลายชาติพันธุ์กระจายกันอยู่ตามเกาะ ทำให้วัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องที่แตกต่างกันไป
        วายัง กูลิต (Wayang Kulit) เป็นการแสดงเชิดหุ่นเงาที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย และถือเป็นศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการแสดงชนิดอื่น     เพราะรวมศิลปะหลายด้านไว้ด้วยกัน โดยฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วยหนังสัตว์ นิยมใช้วงดนตรีพื้นบ้านบรรเลงขณะแสดง
        ระบำบารอง (Barong Dance) ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหลี มีการใช้หน้ากากและเชิดหุ่นเป็นตัวละคร โดยมีการเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง เรื่องราวเป็นการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายความดี กับรังดา พ่อมดหมอผีตัวแทนฝ่ายอธรรม โดยฝ่ายธรรมะจะได้รับชัยชนะในที่สุด
       ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ เป็นผ้าพื้นเมืองของอินโดนีเซียที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกนิยมใช้เป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาว โดยใช้เป็นผ้าโพกศีรษะชาย ผ้าคลุมศีรษะหญิง ผ้าทับกางเกงชาย และโสร่ง หรือผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ซึ่งส่วนที่เรียกว่า "ปาเต๊ะ” คือส่วนที่ต้องนุ่งให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลายสีสันต่างไปจากส่วนอื่นๆ ในผ้าผืนเดียวกันนั่นเอง
สกุลเงิน
เปโซฟิลิปปินส์ (Philippine Peso - PHP)
อัตราการแลกเปลี่ยน
1.4 เปโซ = 1 บาท
43 เปโซ = 1 ดอลลาร์สหรัฐโดยประมาณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น